Tuesday, January 20, 2015

ปัญหา การเปิด โปรแกรมไฟฟ้าหน้าหลักและ Error

ในการเปิดไฟฟ้าหน้าหลัก แล้ว เกิด Error มีข้อความ Error Dotnet....
แต่ Continue ก็ทำงาน ได้
จะใช้ EECAL หรือ เครื่องคิดเลขไฟฟ้า ไม่ได้
เกิดจาก ไม่ได้สร้าง Project ก่อน หรือ ไม่ได้ เลือก Project หรือ Project ที่เลือกใว้ก่อนได้ หายไปแล้ว
โดยปรกติจะต้องมี โฟล์เดอร์  ที่สร้างจาก โครงการอยู่

Thursday, April 25, 2013

การเขียน Riser Diagram

Riser Diagram เป็นแบบ สรุป สำหรับ การอธิบายว่า ระบบไฟฟ้า ที่ออกจากตู้ควบคุม หลัก (MDB) ไปยัง Load Panel (LP) อยู่ที่ใดบ้าง โปรแกรมจะให้เครื่องมือในการเขียน LP และ MDB หรือ DB ใว้ โดยที่ จะเชื่อมโยงให้โดยอัตโนมัติ


และจะทำการ บันทึกลงใน Database เพื่อที่จะได้เชื่อมกับ สายที่มาจากแสงสว่าง กับ ปลัก

Sunday, April 21, 2013

การคำนวนจำนวนหลอดจากZonal Cavity Method


Zonal Cavity Method เป็นวิธีการคำนวน จำนวนหลอด ต่อห้อง ที่ไม่ซับซ้อน มาก ใช้งาน ได้ทั่วไปในการออกแบบ ห้อง ที่มีลักษณะ สีเหลี่ยม ไม่แคบเกินไปไม่สูงเกินไป โดยวิธีการจะคำนวน จาก พื้นที่ของห้องเป็นหลัก โดยที่จะมี อยู่ในโปรแกรม PPCAD-EE ในเมนูการออกแบบ จะอธิบายที่มาของการคำนวน เนื่องจาก จะไม่เห็นกระบวนการในโปรแกรม
จากสูตรของการคำนวน
  
   จำนวน หลอด (N) =    ค่า ฟลักซ์ส่องสว่างรวมของห้อง (Lumen=TL)/ค่าส่องสว่างต่อโคม(Lumen)

 ค่า ฟลักซ์ส่องสว่างรวมของห้อง หรือ Total Lumen(TL) จะคำนวน จาก ความสว่าง Lux ของ การใช้สอย ของห้องนั้นๆ (Lux เป็นค่าความสว่าง Lumen/ตารางเมตร) ในห้องที่จำกัดและมีการทาสีที่ผนัง ให้สมมติ ว่า แสงสะท้อนอยู่ใน ห้องนั้น ไม่ได้คิดผลของการกระจายต่อระยะทางซึ่งต้องคำนวนเป็น Square root ของระยะทาง(จะใช้ในงานไฟฟ้านอกอาคาร)

โดยมีมาตราฐานตามมาตรฐานสมาคมแสงสว่างแห่ง ประเทศไทย
ตัวอย่างสำหรับอาคาร
  

กรณีใน สำนักงาน จะใช้เท่ากับกับ ห้องปฐมพยาบาลคือ 500 lux

สำหรับการคำนวน ค่า TL จะมีสุตรตามนี้ 

      TL =     (ค่า Lux ของการใช้งานอ่านจากตารางช่องที่2) x พื้นที่ห้องตรม./(ค่าการใช้งานเฉลี่ย xค่าเสื่อมของหลอดxค่าสัมประสิทธิการสะท้อนแสงของโคม)

   ค่าการใช้งานเฉลี่ย หมายถึง ความสะอาดของห้องของหลอด และ โคมไฟ เฉลี่ย ทั่วไปใช้ 0.5-0.8
     ถ้าห้องยิ่งสะอาดและผนังใช้สีสว่าง ก็จะได้ไกล้ 1.0
   ค่าเสื่อมของหลอด หมายถึง ค่าความสว่างเฉลี่ยตลอดการใช้งาน/ค่าความสว่างเริ่มต้น
โดยทั่วไป หลอดไฟมาจากโรงงานจะมีความสว่างมาก แล้วจะค่อยๆลดลงตลอดการใช้งาน
 ค่าสัมประสิทธิการสะท้อนแสงของโคม จะใช้ตารางตามเวลาที่จะมีการทำความสะอาด
ถ้าทำทุกปีก็คิดเฉลี่ยต่อปี
เช่น หลอดไม่มีโคม
หลอดเปลือย
รอบทำความสะอาดเดือน สัมประสิทธิการสะท้อน
0 1
6 0.94
12 0.9
18 0.87
24 0.85
30 0.82

ตัวอย่าง ห้องขนาด 4x5 เมตร เป็นห้องทำงาน เลือกหลอด ฟลูออเรสเซนต์ 36 W.

   ค่า Lux ของการใช้งาน = 500
  ค่าการใช้งานเฉลี่ย        = 0.7
  ค่าเสี่อมของหลอด    =   2500(อ่านจากWebของผู้ผลิต) /3700  =>0.676
   ค่าสัมประสิทธิการสะท้อนของโคมที่ 12 เดือน ใช้ค่าเฉลี่ย (1+0.94+0.9)/3 = 0.946


    TL =     500x(4x5)/(0.7x0.676x0.946)
         ได้ค่า    22,339 lm.

จำนวนหลอด    =    22339/2500 
 ได้จำนวน   =  8.9  หรือ 9 หลอด 

เพื่อง่าย จะวาง หลอด 3x3  ในห้อง







Wednesday, April 17, 2013

การวางหลอดไฟ และ การเชื่อมสายไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ

โปรแกรม PPCAD-EE มี ความสามารถในการสร้างระบบการเชื่อมสายและอุปกรณ์ไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ
โดยที่โปรแกรมจะหาเส้นทางที่สั้นที่สุด ในการเชื่อมสายเช่น จากสวิทย์ ไปยังหลอดไฟฟ้า
และจะยังสามารถ หา Load ที่จะแสดงให้เห็นว่า เมื่อ เปิดอุปกรณ์ไฟฟ้า นั้น แล้วจะมี กระแส เท่าไร
ในเมนูเลือกเชื่อมสาย อัตโนมัติ

การเลือกหลอดไฟฟ้า สามารถเลือกได้จากเมนู และมี แบบต่างตามต้องการ สามารถใส่ Load(VA) และ Spec ได้

สำหรับ สวิทย์ ก็เช่นเดียวกัน




เมื่อวางตำแหน่ง ตามต้องการ ให้เลือก วางสายไฟฟ้า->อัตโนมัติ
เลือก หลอดไฟ ที่จะอยู่ในกลุ่มของ สวิทย์ เดียวกัน และ เลือกที่สวิทย์ที่ต้องการ ในภาพอยู่ที่ซ้ายล่างรูป ตัว 'S'  โปรแกรมก็จะสร้าง เส้นสายไฟ ให้อัตโนมัติ

นอกจากวาดเส้นแล้วโปรแกรมจะทำการ คำนวน Load ไปที่ Switch และ กำหนดขนาดสายโดยอัตโนมัติ

สำหรับ เส้นสายไฟ และ หลอดไฟจะมีคำสั่งเลือกบังได้


สำหรับ การแสดง Load จะให้เรียกคำสั่ง แสดงโหลด จะแสดง Power และกระแส(รวม Power Factor)

จะแสดงชั่วคราว เมื่อ View->Regen จะหายไป